top of page
Nan Ah

ภาวะเหนื่อยล้าของผู้ดูแล


การดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลานั้น เป็นงานที่เหน็ดเหนื่อย ใช้เวลามาก และก่อให้เกิดความตึงเครียดสูง อีกทั้งตัวผู้ดูแลเองก็อาจมีปัญหาของตนเองในหลายๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพ ชีวิตความเป็นอยู่ ฐานะการเงิน และชีวิตส่วนตัวของตนเอง เมื่อเวลาผ่านไป ถ้าผู้ดูแลปราศจากความช่วยเหลือจากสมาชิกคนอื่นๆแล้ว ก็จะเกิดความเหนื่อยล้า เป็นธรรมดาของผู้ดูแลหลักสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือผู้สูงอายุทุพพลภาพ ที่อาจจะรู้สึกเหน็ดเหนื่อย เบื่อหน่ายได้ในบางเวลา แต่ถ้ามีความรู้สึกดังกล่าวติดต่อกันเป็นเวลานานหรือตลอดเวลา อาจเป็นสัญญาณเตือนว่า ผู้ดูแลคนนั้นกำลังต้องการความช่วยเหลือ ภาวะที่บ่งบอกว่ากำลังจะหมดไฟในการดูแล - อยากจะหนีไปให้พ้นความรับผิดชอบที่ดูเหมือนทับถมกันมากขึ้นทุกที - รู้สึกเหมือนกำลังรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างอยู่เพียงคนเดียว - กิจวัตรประจำวันดูช่างยุ่งเหยิง และวุ่นวายสับสนไปหมด - ไม่มีเวลาได้ออกไปข้างนอก เข้าสังคม หรือทำธุระส่วนตัว - การกิน อยู่ หลับนอน ของผู้ดูแลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก - น้ำหนักลด เบื่ออาหาร เบื่อหน่ายไปหมด - หงุดหงิด โกรธง่ายแม้กับสาเหตุเพียงเล็กน้อย - ไม่มีสมาธิจดจำสิ่งต่างๆ หลงลืมแม้แต่สิ่งสำคัญ - ใช้ยาหรือสารเสพติดมากกว่าเดิม เช่น ยานอนหลับ เหล้า บุหรี่ แนวทางสำหรับผู้ดูแลที่กำลังจะเหนื่อยล้า 1.วางแผนการดูแลให้ดี อย่าให้เป็นภาระตกหนักที่ใครเพียงคนเดียวตลอดเวลา 2.ถ้าเป็นไปได้ อาจจ้างผู้อื่นให้มาทำหน้าที่ดูแลชั่วคราวเป็นครั้งๆ เพื่อให้ผู้ดูแลหลักมีเวลาพักผ่อนหรือทำธุระส่วนตัวบ้าง 3.แบ่งหน้าที่ด้านต่าง ๆ ให้ญาติพี่น้องคนอื่นได้มีส่วนรับผิดชอบร่วมกันบ้าง เช่นภาระค่าใช้จ่ายในบ้าน การทำความสะอาดบ้าน หรือหน้าที่พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาล 4.หาเวลาพักผ่อนไปทำกิจกรรมที่ตนเองชอบบ้างเพื่อผ่อนคลายความเครียด 5.พูดคุยพบปะสังสรรค์ เข้าสังคมบ้าง นอกจากบรรเทาความเครียดแล้วอาจได้รับคำแนะนำในการแก้ปัญหาของตนเองได้ 6.ดูแลรักษาสุขภาพกายของตนเองให้แข็งแรงอยู่เสมอ สุดท้ายนี้ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ดูแลทุกท่านครับ ========================================= ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย โรคเรื้อรังที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด เช่น ผ่าตัดตา ผ่าตัดเข่า สะโพกฯลฯ รักษาแผลกดทับ ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย ที่มีความจำเป็นจะต้องนอนรักษาตัว เพื่อตรวจรักษา หรือทำแผล ฉีดยา หรือให้ออกซิเจน โดยพยาบาลผู้ชำนาญการและทีมแพทย์ สอบถามรายละเอียด และประเมินค่าใช้จ่ายได้ที่ โทร +66 94 505 5454 Line ID : nan-ah-hospital #ผู้ป่วยติดเตียง #รักษาแผลกดทับ #ผู้ป่วยให้อาหารทางสายยาง #พักฟื้นหลังผ่าตัด #ดูแลผู้สูงอายุ #ผู้ป่วยมะเร็ง #ช่วยเหลือตตัวเองไม่ได้ #มะเร็งระยะสุดท้าย

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

コメント


bottom of page