top of page
Nan Ah

แผลกดทับ แต่ละระดับ




แผลกดทับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่ใช้ระยะเวลานาน และส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย เรามาดูระดับความรุนแรงของแผลกดทับกันครับ

ระดับ 1 หมายถึง ผิวหนังไม่เป็นแผลแต่มีรอยแดงช้ำ มักอยู่บริเวณปุ่มกระดูก เมื่อกดบริเวณนี้ผิวหนังยังคงแดงช้ำเหมือนเดิม ไม่ซีด สีผิวอาจแตกต่างจากบริเวณข้างเคียง อาจเจ็บ แข็งหรือนุ่ม อุ่นหรือเย็นกว่าบริเวณข้างเคียง หากผิวสีเข้มอาจเห็นลักษณะดังกล่าวได้ยาก จึงเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ

ระดับ 2 หมายถึง สูญเสียหนังแท้บางส่วน เป็นแผลเปิดตื้น ๆ เห็นก้นแผลเป็นสีชมพูไม่มีเนื้อตายปกคลุม หรือเป็นถุงน้ำพอง (Serum-filled blister) ที่แตกแล้วหรือยังไม่แตก แต่กรณีผิวหนังฉีกขาด (Tear) แผลไหม้ (Burn) ผื่นผิวหนังอักเสบที่ฝีเย็บ (Perineal dermatitis) ผิวหนังเปื่อยยุ่ย (Maceration) หรือรอยถลอก (Excoriation) ไม่ถือเป็นแผลกดทับระดับนี้

ระดับ 3 หมายถึง สูญเสียผิวหนังทั้งหมด เห็นชั้นไขมันแต่ยังไม่เห็นกล้ามเนื้อ เอ็น หรือกระดูก อาจมีเนื้อตายปกคลุมแต่ยังมองเห็นความลึกของเนื้อเยื่อที่สูญหาย แผลระดับนี้อาจเซาะเป็นโพรงใต้ผิวหนังความลึกของแผลกดทับระดับ 3 แตกต่างกันขึ้นกับบริเวณ บริเวณที่ไม่มีเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังแผลจะตื้น ส่วนบริเวณที่มีไขมันใต้ผิวหนังหนา แผลจะลึกทำให้ไม่เห็นหรือไม่สามารถคลำถึงกระดูกหรือเอ็นกล้ามเนื้อ

ระดับ 4 หมายถึง สูญเสียผิวหนังทั้งหมด เห็นกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ อาจมีเนื้อตายปรากฏที่แผลบางส่วน บ่อยครั้งพบว่าแผลเป็นโพรงลึกถึงกระดูก เอ็น กล้ามเนื้อ หรือเยื่อหุ้มข้อ ทำให้มีโอกาสเกิดกระดูกอักเสบเป็นหนอง ระบุระดับไม่ได้ (Unstageable stage) หมายถึง สูญเสียผิวหนังทั้งหมด แผลถูกปกคลุมด้วยเนื้อตายหรือ Eschar บดบังความลึกของแผล ถ้าไม่ตัดเนื้อตายออกจนเห็นก้นแผลจะไม่สามารถประเมินความลึกที่แท้จริง และความรุนแรงของแผลได้

คาดว่าเนื้อเยื่อลึกบาดเจ็บ (Suspected deep tissue injury) หมายถึง ผิวหนังไม่เป็นแผลแต่มีสีม่วง (Purple) หรือแดงปนน้ำตาล (Maroon) หรือเป็นถุงน้ำมีเลือดภายใน (Blood-filled blister) เกิดจากเนื้อเยื่อถูกแรงกดหรือแรงเฉือน คลำได้ลักษณะแข็ง (Firm) หรือเหมือนมันบด (Mushy) หรือโคลน (Boggy) อุ่นหรือเย็นเมื่อเทียบกับบริเวณข้างเคียง

การป้องกันไม่ให้เกิดแผลกดทับจึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด โดยเริ่มตั้งแต่การค้นหาและกำจัดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ การดูแลผิวหนัง การใช้แผ่นรองตัวและเบาะรองนั่งที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดและกระจายแรงกด เป็นต้น ===========================================

ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ผู้ป่วยพักฟื้นหลังผ่าตัด เช่น ผ่าตัดตา ผ่าตัดเข่า สะโพกฯลฯ

รักษาแผลกดทับ ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วย ที่มีความจำเป็นจะต้องนอนรักษาตัว เพื่อตรวจรักษา ทำแผล ฉีดยา หรือให้ออกซิเจน

โดยพยาบาลผู้ชำนาญการและทีมแพทย์

สอบถามรายละเอียด และประเมินค่าใช้จ่ายได้ที่

โทร +66 94 505 5454

Line ID : nan-ah-hospital

ดู 277 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page