top of page

ฝังเข็มโดยแพทย์แผนจีน
Accupuncture

ตามทฤษฎีแพทย์จีนแบ่งอวัยวะออกเป็น 2 พวกคือ

1. อวัยวะภายตันทั้ง 5 ได้แก่ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด ไต อวัยวะภายในทั้งห้า จัดว่าเป็น มีหน้าที่สร้างและเก็บสารจำเป็น แต่ไม่ทำหน้าที่กำจัด สะสม สารจำเป็นของชีวิตและควบคุมการไหลเวียนของพลังลมปราณและเลือด นอกจากนี้ยัง นับรวมถุงหุ้มหัวใจ ด้วยเป็นอวัยวะตันอีกชนิดหนึ่ง

2. อวัยวะกลวงทั้ง 6 ได้แก่ ถุงน้ำดี ลำไส้เล็ก กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ กระเพาะปัสสาวะ และซานเจียว อวัยวะกลวงทั้งห้า จัดว่าเป็น ทำหน้าที่เกียวกับการย่อย ดูดซึมและขับถ่าย

3. อวัยวะกลวงพิเศษทั้ง 6 ได้แก่ สมอง ไขสันหลัง กระดูก เส้นเลือด ถุงน้ำดี มดลูก เนื่องจากภายในมีลักษณะกลวงเหมือนอวัยวะกลวง และทำหน้าที่เก็บสะสมสารจำเป็นและลมปราณเหมือนอวัยวะตันจึงเรียกว่าเป็น อวัยวะกลวงพิเศษทั้งหก และจัดว่าเป็นอวัยวะตันและกลวงจะแบ่งเป็น หยิน-หยาง และจะมีความสัมพันธ์เป็นคู่ๆ โดยมีเส้นลมปราณเชื่อมโยงอยู่ระหว่างคู่กัน กล่าวคือ ตับคู่กับถุง น้ำดี หัวใจคู่กับลำไส้เล็ก ม้ามคู่กับกระเพาะอาหาร ปอดคู่กับลำไส้ ใหญ่ ไตคู่กับกระเพาะปัสสาวะ เยื่อหุ้มหัวใจกับซานเจียว
 

ร่างกายคนเรา เมื่อมองแบบหยินหยางแล้ว การที่ร่างกายจะมีสุขภาพที่ดีแข็งแรงก็จะเกิดจากการที่หยินหยางมีความสมดุลกัน เมื่อใดที่หยินหยางขาดสมดุล เราก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยหรือไม่สบายตัวขึ้นได้
 

การปรับสมดุลของ อิน(หยิน)และหยาง

โดยหลักพื้นฐานของทฤษฎีแพทย์จีน ความเจ็บป่วยทุกอย่างเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของสภาวะสองขั้วที่ตรงกันข้าม ขั้วหนึ่งเรียกว่า“อิน”อีกขั้วคือ“หยาง” ปกติอินและหยางภายในร่างกายมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลา ทั้งการเปลี่ยนแปร-การหักล้าง-การยับยั้ง-การบริโภค-การเกื้อกูล-การพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน หากมีปัจจัยใดก็ตามที่ทำให้ขั้วใดขั้วหนึ่งมีปริมาณหรือหน้าที่มากเกินหรืออ่อนด้อยไป ย่อมส่งผลกระทบต่อปกติภาวะของร่างกาย การปรับสมดุลของอินและหยางจึงเป็นหลักพื้นฐานสำคัญในการรักษาโรค

หยางเกิน ทำลายอิน อินเกิน ทำให้หยางเสียหาย เช่น

ความร้อน (หยาง) มากเกินไป ทำลายสารจำเป็น (อิน)

ความเย็น (อิน) มากเกินไป ทำลายชี่ (หยาง)
 

ในการรักษาต้องทำการลดความร้อนหรือขจัดความเย็น ด้วยวิธี “ขจัดส่วนเกิน” และ “ลดความแกร่ง” เมื่อเกิดขั้วหนึ่งแกร่งหรือเกิน ในการปรับให้เกิดความสมดุลต้องพิจารณาสภาพของอีกขั้วหนึ่งด้วย ไม่ควรทำการรักษาเพียงขั้วเดียว เนื่องจากขั้วที่แกร่งมักทำลายอีกขั้วหนึ่งไปด้วย หากผู้ป่วยมีอาการของหยางแกร่ง ควรตรวจดูว่ามีอินพร่องด้วยหรือไม่ การรักษาต้องระบายหยางและบำรุงอินควบคู่กันไป
 

อินพร่องย่อมเสียหน้าที่ในการควบคุมหยาง หยางจึงแสดงออกมากเกิน ปรากฏ “กลุ่มอาการร้อนพร่อง” (ร้อนเพราะอินพร่อง) ในทางตรงข้าม เมื่อหยางพร่องย่อมควบคุมอินไม่ได้ อินแสดงออกมากเกิน เกิด “กลุ่มอาการเย็นพร่อง”(เย็นเพราะหยางพร่อง)

“พลังอินขาดความสมดุล” มี 2 แบบคือ อินพร่อง และ อินมากเกิน จะทำให้เป็นคนขี้ร้อน ซึ่งอาจเป็นความร้อนที่เรานำเข้ามาในร่างกาย ผ่านการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น ของทอด ที่ทำให้ร่างกายสะสมความร้อน
 

ส่วนอาการของ “พลังหยางขาดความสมดุล” เช่น หยางพร่อง หมายความว่า พลังหยางในร่างกายลดน้อยลง พลังหยาง หมายถึง ความร้อนที่ให้ความอบอุ่นกับร่างกายเรา หากวันไหนที่พลังหยางเราลดลง แสดงว่า ไฟในร่างกายเราลดลง ส่งผลให้เราเป็นคนขี้หนาว ปลายมือ ปลายเท้าเย็น เหน็บชา เป็นต้น
 

แพทย์แผนจีนจะตรวจวินิจฉัยสมดุลอินหยาง จาก การฟัง การซักถามประวัติ ดูใบหน้า ดูลิ้น และการจับชีพจร หรือ “แมะ” เพื่อหาสาเหตุการเกิดโรค กลไกการดำเนินโรค และกลุ่มอาการของโรค เพื่อนำมาสู่การรักษา ป้องกัน ฟื้นฟู และปรับสมดุล ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

============================================

ฝังเข็มปรับสมดุล แก้ปวดเฉพาะจุด โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

099 451 6336

02 439 5100

Get a Quote

This is a Paragraph. Click on "Edit Text" or double click on the text box to start editing the content.

Thanks for submitting!

bottom of page